วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556


ความรู้เบื้องต้นของแพทย์แผนโบราณ
(กิจ 4 ประการ)



                 บุคคลที่ปราถนาจะศึกษาหาความรู้ความชำนาญในด้านการดูแลตนเอง การรักษาโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคนั้น สิทธิการิยะท่านว่า
                 กุลบุตรผู้มีความปราถนาหาคุณสมบัติสำหรับตัว หรือผู้ที่มีความปราถนาจะเป็นหมอนั้น จะต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญ ในการ แก้ไข สิ่งที่เกิดขึ้น คำว่า  "หมอ" นั้นย่อมเรียกกันโดยมาก แต่ต่างกันโดยคุณความดีของบุคคล คือ ผู้ที่ชำนาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ก็เรียกว่า หมอยา ผู้ที่เข้าใจในวิธีนวด ก็เรียกว่าหมอนวด ผู้ที่ชำนาญในการทรมานช้าง ก็เรียกว่า หมอช้าง หรือ ควาญช้าง สุดแต่ผู้ชำนาญในวิธีใด ก็คง เรียก กันว่าหมอ ตามวิธีนั้นๆ หมอยาซึ่งชำนาญในการรักษา โรคภัยไข้เจ็บ ด้วย วิธีใช้ยาอย่างเดียว จะใช้คำว่าหมอเท่านั้น
                หมอที่จะกล่าวต่อไปนี้ มาจากคำว่า เวช แผลงมาเป็นแพทย์ แปลออกเป็นคำไทยว่า หมอ หมอที่จะเป็นผู้รู้ ผู้ชำนาญ ในการรักษาโรคได้นั้น จะต้องรู้กิจ 4 ประการในเบื้องต้นเสียก่อน การที่จะศึกษาให้รอบรู้โดยถ่องแท้นั้น ก็ย่อมเป็น การยาก เพราะมีมากมายหลายประเภท และแตกต่างโดยกาลประเทศคตินิยมก็เป็นอเนกนัย แต่ควรศึกษาให้เข้าใจไว้ เป็นกะทู้ในเบื้องต้นก่อน พอให้กุลบุตรได้ศึกษาเป็นวิชาความรู้ในเบื้องต้น  แล้วจึงคิดค้นศึกษาหาความรู้ต่อไปในภายหน้า
ในวิชาเบื้องต้นนี้ให้ชื่อว่า " เวชศึกษา " กล่าวด้วยกิจของหมอ 4 ประการ ซึ่ง สามารถ จำแนก เป็น หมวด และอธิบายรายละเอียด ได้ดังนี้ คือ

1. รู้จักที่ตั้งแรกเกิดของโรค
                ที่ตั้งแรกเกิดของโรคนั้น ได้แก่สมุฎฐาน สมุฎฐาน แปลว่า ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ จะบังเกิดขึ้นก็ เพราะสมุฎฐานเป็นที่ตั้ง สมุฎฐานจำแนกออกเป็น 4 ประการ คือ
     
1.1 ธาตุสมุฎฐาน
     
1.2 อุตุสมุฎฐาน
     
1.3 อายุสมุฎฐาน
     
1.4 กาลสมุฎฐาน
1.1 ธาตุสมุฎฐาน แปลว่า ที่ตั้งของธาตุ แบ่งธาตุออกเป็น 4 กอง คือ
1.1.1
ปถวีสุมุฎฐาน  ธาตุดินเป็นที่ตั้ง จำแนกเป็น 20 อย่าง
1.1.2
อาโปสมุฎฐาน  ธาตุน้ำเป็นที่ตั้ง จำแนกเป็น 12 อย่าง
1.1.3
วาโยสมุฎฐาน   ธาตุลมเป็นที่ตั้ง จำแนกเป็น 6 อย่าง
1.1.4
เตโชสมุฎฐาน  ธาตุไฟเป็นที่ตั้ง จำแนกเป็น 4 อย่าง

จึงรวมเป็นธาตุสมุฎฐาน 42 อย่าง หรือจะเรียกธาตุสมุฎฐาน ทั้ง 4 ว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ก็ได้ ท่านจำแนก ไว้โดยละเอียดดังนี้


ปถวีธาตุ 20 อย่าง คือ
1.  เกศา คือ ผม ที่เป็นเส้นงอกอยู่บนศีรษะ

2.
 โลมา คือ ขน เป็นเส้นงอกอยู่ทั่วร่างกาย เช่นขนคิ้ว หนวด เครา และขนอ่อนตามตัว เป็นต้น

3.
  นะขา คือ เล็บ ที่งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือ และปลายนิ้วเท้า

4.  
ทันตา คือฟัน ฟัน 1 อย่าง เขี้ยวอย่าง 1 กรามอย่าง 1 รวมเรียกว่าฟัน เป็นฟันน้ำนม ผลัดหนึ่งมี 
            20 ซี่ เป็นฟันแก่ผลัด 1 มี 32 ซี

5.
  ตะโจ คือ หนัง ตามตำราเข้าใจว่าหมายถึง ที่หุ้มกายภายนอก ซึ่งมี 3 ชั้น คือ หนังหนา หนังชั้นกลาง               
                             หนังกำพร้า    แต่ที่จริงหนังในปาก เป็นหนังเปียกอีกชนิด หนึ่งควรนับเข้าด้วย

6.  
มังสัง คือ เนื้อที่เป็นกล้ามและเป็นแผ่นในกาย

7. 
นะหารู คือ เส้นและเอ็นในกายทั่วไป

8.
  อัฎฐิ คือ กระดูก กระดูกอ่อน อย่าง 1 กระดูกแข็งอย่าง 1

9.
 อัฎฐิมิญชัง คือ เยื่อในกระดูก แต่ที่จริงควรเรียกว่าไข เพราะเป็นน้ำมันส่วนเยื่อนั้นมีหุ้ม อยุ่นอกกระดูก

10.
วักกัง คื อม้าม ตั้งอยู่ข้างกระเพาะอาหาร

11.
หทยัง คือ หัวใจอยู่ในทรวงอก สำหรับสูบฉีดโลหิต ไปเลี้ยงร่างกายทางด้านซ้าย

12.
ยกะนัง คือตับ ตับอ่อนอย่างหนึ่ง และตับแก่อย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ชายโครงด้านขวา

13.
กิโลมะกัง คือ ผังผืด เป็นเนื้อยืดหดได้ มีอยู่ทั่วกาย

14.
ปิหะกัง คือ ไต มีอยู่ 2 ไต ติดกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวขวาและซ้าย สำหรับขับปัสสาวะ

15.
ปัปผาสัง คือ ปอด มีอยู่ในทรวงอกขวาและซ้าย สำหรับหายใจ

16.
อันตัง คือ ลำไส้ใหญ่ เข้าใจว่านับทั้ง 2 ตอน ๆ บนรวมกระเพาะอาหาร เข้าด้วยกัน ตอนล่างต่อจากลำไส้        
                                 ไปหาทวารหนักอีกตอนหนึ่ง

17.
อันตะคุณัง คือ ลำไส้น้อย ลำไส้เล็กที่ขดต่อจากกระเพาะอาหารไปต่อกับไส้ใหญ่ตอนล่าง

18.
อุทรียัง คือ อาหารใหม่ อาหารที่อยู่เพียงลำไส้ใหญ่ตอนบน (ในกระเพาะอาหาร) และในลำไส้เล็ก

19.
กะรีสัง คือ อาหารเก่า กากอาหารที่ตกจากลำไส้เล็กมาอยู่ในลำไส้ใหญ่ตอนล่าง และตกไปทวารหนัก

20.
มัตถะเก มัตถะลุงคัง คือมันสมอง เป็นก้อนอยู่ในศีรษะ ต่อเนื่องลามตลอดกระดุกสันหลัง ติดกับ
                                                                          เส้นประสาททั่วไป   



อาโปธาตุ 12 อย่าง คือ

  1. ปิตตัง คือ น้ำดี แยกเป็น 2 อย่าง มีพัทธปิตตัง ( น้ำดีในฝัก) และอพัทธะปิตตะ( น้ำดีนอกฝัก) 
               ที่ตกในลำไส้
  2. เสมหัง คือ น้ำเสลด แยกเป็น 3 คือ ศอเสมหะในลำคอ อุระเสมหะที่ปลายกระเพาะต่อกับลำไส้เล็ก
       คูถเสมหะที่ออกจากทางอุจจาระ เป็นต้น
  3  ปุพโพ คือ หนอง ที่ออกตามแผลต่างๆ เกิดขึ้นเพราะมีเหตุช้ำชอก และเป็นแผล เป็นต้น
  4. โลหิตัง คือ เลือด โลหิตแดงอย่างหนึ่ง  โลหิตดำอย่างหนึ่ง
  5. เสโท คือ เหงื่อ น้ำเหงื่อที่ตามกายทั่วไป
  6. เมโท คือ มันข้น เป็นเนื้อมันสีขาวออกเหลืองอ่อนมีในร่างกายทั่วไป
  7. อัสสุ คือ น้ำตา น้ำใสๆ ที่ออกจากตาทั้งสองข้าง
  8. วะสา คือ มันเหลว หยดมัน และน้ำเหลืองในร่างกายทั่วไป
  9. เขโฬ คือ น้ำลาย น้ำลายในปาก
10. สิงฆานิกา น้ำมูก เป็นน้ำใสๆ ที่ออกทางจมูก
11. ลสิกา คือ ไขข้อ น้ำมันที่อยู่ในข้อทั่วๆไป
12. มุตตัง คือ น้ำปัสสาวะ น้ำที่ออกมาจากกระเพาะปัสสาวะ 

วาโยธาตุ 6 อย่าง
1. อุทธังคมาวาตา คือ ลมสำหรับพัดขึ้นเบื้องบน ตั้งแต่ปลายเท้าตลอดศรีษะ บางท่านกล่าวว่า  ตั้งแต่  
         กระเพาะ อาหารถึงลำคอ ไก้แก่ เรอ เป็นต้น
2. อโธคมาวาตา คือ ลมสำหรับพัดเบื้องล่างตั้งแต่ศรีษะตลอดถึงปลายเท้า บางท่านกล่าวว่า ตั้งแต่                   
         ลำไส้น้อยถึงทวารหนัก ได้แก่ผายลม เป็นต้น
3. กุจฉิสยาวาตา คือ ลมสำหรับพัดอยู่ในท้องแต่นอกลำไส้
4. โกฎฐาสยาวาตา คือ ลมสำหรับพัดในลำไส้และในกระเพาะอาหาร
5. อังคะมังคานุสารีวาตา คือ ลมสำหรับพัดทั่วร่างกาย ( ปัจจุบันเรียกโลหิต แต่ก่อนเรียกว่า ลม)



เตโชธาตุ 4 อย่างคือ
1. สันตัปปัคคี  คือ  ไฟสำหรับอุ่นกาย ซึ่งทำให้ตัวเราอุ่นเป็นปกติอยู่
2. ปริทัยหัคคี  คือ  ไฟสำหรับร้อนระส่ำระสาย ซึ่งทำให้เราต้องอาบน้ำและพัดวี
3. ชิรณัคคี       คือ  ไฟสำหรับเผาให้แก่คร่ำคร่า ซึ่งทำให้ร่างกายเราเหี่ยวแห้ง ทรุดโทรม ทุพพลภาพไฟ
4. ปริณามัคคี  คือ  ไฟสำหรับย่อยอาหาร ซึ่งทำให้อาหารที่เรากลืนลงไปนั้น แหลกละเอียดไป



               ธาตุดิน 20 อย่าง ธาตุน้ำ 12 อย่าง ธาตุลม 6 อย่าง ธาตุไฟ 4 อย่าง เป็นที่ตั้งที่เกิดของโรค เพราะธาตุทั้ง 4 นั้นพิการไป มนุษย์จึงมีความเจ็บไข้ไปแต่ละอย่างๆ ท่านได้อธิบายในคัมภีร์ธาตุวิภังค์และคัมภีร์โรคนิทาน นอกจากนี้ การรู้จักที่ตั้งที่เกิด แห่งโรค ตาม อาการของธาตุทั้ง 4 กับตัวยาสำหรับแก้โรค ยังมีแจ้งอยู่ในคัมภีร์โรคนิทาน จึงกล่าวแต่ชื่อธาตุทั้ง 4 ไว้พอสังเขปเท่านั้น
               อนึ่งธาตุ 42 อย่าง ที่เป็นหัวหน้ามักจะพิการบ่อยๆ ไม่ค่อยจะเว้นตัวตน ย่อธาตุ 42 อย่าง เป็นสมุฎฐาน
ธาตุ 3 กองดังนี้
       1. ปิตตสมุฎฐานาอาพาธา     อาพาธด้วยดี
       2. เสมหะสมุฎฐานาอาพาธา  อาพาธด้วยเสลด
       3. วาตะสมุฎฐานาอาพาธา    อาพาธด้วยลม
                เมื่อสมุฎฐานทื้ง 3 ประชุมกันเข้าเรียกว่า สันนิปาติกาอาพาธา อาพาธด้วยโทษประชุมกัน ชื่อว่า สันนิบาต สมุฎฐานทั้ง 3 กองนี้ มักจะพิการเสมอไปไม่ใคร่จะขาด ถ้าฤดูผันแปรวิปริตไปเมื่อใด สมุฎฐาน ทั้ง 3 กองนี้ ก็พิการไป เมื่อนั้น จะได้กล่าวถึงธาตุพิการต่อไปในข้างหน้า


     1.2 อุตุสมุฎฐาน แปลว่า ฤดูเป็นที่ตั้ง  ฤดูนี้เป็นของมีอยู่สำหรับโลก ในปี 1 ย่อมแปรไปตามปกติของเดือน วัน อันโลกได้สมมุติกันสืบมา โดยกาลนิยมตราบเท่าทุกวันนี้ อาการที่ฤดูแปรไปนี้ย่อมให้เกิดไข้เจ็บได้ ตามที่ท่านกล่าวว่า อุตุปรินามชาอาพาธา - ไข้เจ็บเกิดเพราะฤดูแปรไ ฉะนั้นจึงจัดเอาฤดูเข้าเป็นสมุฎฐานของโรค ดังจะกล่าวต่อไปนี้
              ฤดูในคัมภีร์แพทย์ท่านแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ แบ่งเป็น ฤดู 3 อย่างหนึ่ง ฤดู 4 อย่างหนึ่ง แบ่งเป็น ฤดู 6 อย่างหนึ่ง
 ฤดู 3 ท่านจัดเป็นสมุฎฐานของโรค ในที่นี้ จะแบ่งฤดู 3 คือ ปีหนึ่ง แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ๆ หนึ่งมี 4 เดือน ดังนี้คือ
      1. คิมหันตฤดู นับแต่ แรม 1 ค่ำเดือน 4 (มีค.) ไปจนถึงขึ้น 15 ค้ำเดือน 8 (กค.) รวมเป็น 4 เดือน เรียกว่า คิมหันตฤดู แปลว่า ฤดูร้อน อากาศร้อนรักษาร่างกายมนุษย์อยู่ สัมผัสภายนอก กับธาตุของมนุษย์ ได้
กระทำความร้อนเป็นธรรมดา  ก็มีอากาศฝน ,อากาศหนาวเจือมา ก็อาจเจ็บไข้ได้ พิกัดปิตตะ สมุฎฐานเป็นเหตุ
      2. วสันตฤดู นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 (กค.) ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12(พย) รวมเป็น 4 เดือน เรียกว่า วสันต์ฤดู แปลว่าฤดูฝน อากาศหน้าฝนรักษาร่างกายมนุษย์ เมื่ออากาศภายนอกสัมผัสกับธาตุของมนุษย์ ก็ได้กระทบความเย็นเป็นธรรมดา แต่เมื่ออากาศหนาว ร้อนมาผสม มนุษย์อาจเจ็บไข้ได้ พิกัดวาตะ สมุฎฐานเป็นเหตุ
      3. เหมันตฤดู นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 12 (พย) ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 4(มีค) รวมเป็น 4 เดือน เรียกว่า เหมันตฤดู แปลว่า ฤดูหนาว หรือฤดุน้ำค้าง อากาศหนาวรักษาร่างกายมนุษย์อยู่ สัมผัสและ ธาตุของ มนุษย์ได้กระทบความหนาวเป็นธรรมดา ก็มีอากาศร้อน อาศฝนเจือมา เมื่อฤดูทั้ง 3 ซึ่งแบ่งออกโดยนาม ตามสามัญ นิยมผลัดเปลี่ยนกันไป และมีอากาศร้อนหนาวเจือมา ในระหว่างของฤดุนั้นๆ ดังนี้ ก็ย่อมเป็นเหตุให้มนุษย์มีความเจ็บได้วยสัมผัสอากาศธาตุภายนอกกับธาตุภายในไม่เสมอกัน อนึ่ง เมื่อระหว่างฤดุต่อกันนั้น ทำให้สัมผัสของมนุษย์ไม่เสมอกัน ซึ่งฤดูแปรไปไม่ปกติเช่นนี้ ธาตุในร่างกายของมนุษย์ก็ย่อมแปรไปตามฤดูเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นคราวที่ธาตุหมุนเวียนไปไม่ทัน กับคราวฤดูที่เป็นอากาศ ธาตุภายนออกคราวใด ก็ย่อมมีการเจ็บไข้บังเกิด อนึ่งในฤดู 3 นั้น ท่านแบ่งออกเป็นสมุฎฐานของโรคดังนี้           

            1. คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) เป็นสมุฎฐานเตโช สันตัปปัคคี ( ไฟสำหรับอุ่นกาย)
            2. วสันตฤดู (ฤดูฝน) เป็นสมุฎฐานวาโย กุจฉิสยาวาตา ( ลมพัดในท้อง นอกลำไส้)
            3. เหมันตฤดู (ฤดูหนาว) เป็นสมุฎฐานอาโป พิกัดเสมหะโลหิต




ฤดู 4 ท่านจัดเป็นสมุฎฐานของโรค ในที่นี้แบ่งฤดู  4 โดย ปีหนึ่งจะมี  4 ฤดูๆหนึ่งมี  3 เดือน ดังนี้
1. ฤดูที่ 1 นับแต่แรม 1 ค่ำ เดือน  4    (มีค)  ถึง  ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7  (มิย) สมุฎฐานเตโช  ( ไฟ ร้อน)
2. ฤดูที่ 2 นับแต่แรม 1 ค่ำ  เดือน   7   (มิย ) ถึง  ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 (กย) สมุฎฐานวาโย (ลม ฝน)
3. ฤดูที่ 3 นับแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 10 (กย)  ถึง  ขึ้น 15 ค่ำ เดือน (ธค) สมุฎฐานอาโป (น้ำ หนาว)
4. ฤดูที่ 4 นับแต่แรม 1 ค่ำ เดือน  1   (ธค)  ถึง  ขึ้น 15 ค่ำ เดือน (มีค) สมุฎฐานปถวี  (ดิน)



ฤดู 6 คือแบ่งเวลา ปีหนึ่งมี 6 ฤดูๆหนึ่งมี 2 เดือนดังนี้

1. ฤดูที่  1 นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 4 ( มีค) ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน (พค) ถ้าเป็นไข้ก็เป็นด้วยพัทธปิตะ กำเดา 

          เป็นเพราะ เพื่อโลหิตร้อน
2.
ฤดูที่ 2 นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 6  (พค) ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน8  (กค) ถ้าเป็นไข้เป็นเพื่อเตโช วาโย กำเดาระคน
3.
ฤดูที่ 3 นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8  (กค)   ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 (กย) ถ้าเป็นไข้เป็นเพื่อวาโย และเสมหะ
4.
ฤดูที่4 นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 10 (กย) ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12(พย)ถ้าเป็นไข้เป็นเพื่อลม 
เพื่อ เสมหะ และมูตร
5. ฤดูที่5 นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 12(พย) ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน (มค)ถ้าเป็นไข้เป็นเพราะเสมหะและ กำเดาโลหิต
6. ฤดูที่6 นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน (กพ) ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 4(มีค) ถ้าเป็นไข้เป็นเพราะธาตุดิน เป็นมูลเหตุ   
        เพื่อเลือดลม กำเดาเจือเสมหะ
  



1.3
อายุสมุฎฐาน นั้นแปลว่าอายุเป็นที่ตั้ง ท่านจัดไว้ 3 อย่าง คือ
 1.3.1 ปฐมวัย นับแต่แรกเกิดจนถึง 16 ปี สมุฎฐาน อาโป พิกัดเสมหะ กับโลหิตระคนกัน แบ่งเป็น 2 ตอน
                   ตอนแรกเกิด จนถึงอายุ 8 ขวบ มีเสมหะเป็นเจ้าเรือน  ปิตตะแทรกตอน 8 ขวบ ถึง 16 ขวบ มีปิตตะเป็น   
                   เจ้าเรือน เสมหะยังเจืออยู่
1.3.2 มัชฌิมวัย นับแต่อายุพ้น 16 ปี ขึ้นไป จนถึงอายุ 32 ปี สมุฎฐานเตโช พิกัดดี 2 ส่วน สมุฎฐาน 
                  วาโย 1 ส่วนระคนกัน
1.3.3 ปัจฉิมวัย นับตั้งแต่อายุพ้น 32 ปีขึ้นไปจนถึงอายุ 64 ปี สมุฎฐานวาโย อาโป แทรก พิกัดเสมหะ
                  กับเหงื่อ




1.4 กาลสมูฎฐาน แปลว่า เวลาเป็นที่ตั้ง ท่านแบ่งไว้เป็น กลางวัน 4 ตอน กลางคืน 4 ตอน ดังนี้
1.4.1 ตอนที่ 1 นับแต่ ย่ำรุ่ง (6.00 น.) ถึง 3 โมงเช้า ( 9.00 น.) 
                                                         ย่ำค่ำ (18.00 น.)  ถึงยาม 1 (21.00 น.) สมุฎฐานอาโปพิกัดเสมหะ
1.4.2 ตอนที่ 2 นับแต่ 3 โมงเช้า ( 9.00 น.) ถึงเที่ยง ( 12.00 น.)
                                                         ยาม 1 ( 21.00 น.) ถึง 2 ยาม (24.00 น.) สมุฎฐานอาโปพิกัดโลหิต
1.4.3 ตอนที่ 3 นับแต่ เที่ยง ( 12.00 น.) ถึง บ่าย 3 โมง ( 15.00 น.)
                        2 ยาม ( 24.00 น.) ถึง 3 ยาม ( 03.00 น.) สมุฎฐานอาโปพิกัดดี
1.4.4 ตอนที่ 4 นับแต่ บ่าย 3 โมง (15.00 น.) ถึงย่ำค่ำ ( 18.00 น.)
                        3 ยาม( 03.00 น.) ถึงย่ำรุ่ง ( 06.00 น.) สมุฎฐานวาโย



ประเทศสมุฎฐาน

ที่ว่าประเทศที่อยู่เป็นที่ตั้งของโรคด้วยนั้น คือ บุคคลที่เคยอยู่ในประเทศดอน หรือเนินเขา อันปราศจากเปือกตมก็ดี หรือบุคคลที่เคย อยู่ในประเทศอันเป็นเปือกตมก็ดี บุคคลอันเคยอยู่ในประเทศร้อนหรือประเทศหนาวก็ดี เคยอยู่ในประเทศใด ธาตุสมุฎฐานอันมีอยู่ในร่างกายก็คุ้นเคยกับอากาศในประเทศนั้น ตามปกติ ถ้าบุคคลเคยอยู่ที่ดอนแล้วมาอยู่ในที่เปือกตม หรือบุคคลเคยอยู่ในประเทศหนาวมาอยู่ประเทศร้อน เคยอยู่ในประเทศร้อน ไปอยู่ในประเทศหนาว เมื่อยังไม่คุ้นเคยกับอากาศในประเทศนั้นๆ แล้วก็ย่อมจะมีความเจ็บไข้ เช่น บุคคลเคยอยู่ชายทะเลไปป่าสูง บุคคลอยู่ป่าสูงมาอยู่ชายทะเลก็มีความเจ็บไข้ ทีเรียกกันว่า ไข้ผิดน้ำผิดอากาศ นี่ก็ไม่ใช่อะไร เป็นเพราะธาตุไม่คุ้นเคยกับประเทศนั่นเอง แม้แต่ที่ซึ่งเคยอยู่มาแล้ว แต่ก็มีเปือกตมอันเป็นสิ่งโสโครก เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ก็ย่อมเป็นเหตุจะให้โรค เกิดขึ้นได้เหมือนกัน หมอทั้งหลายจึงแนะนำ ให้รักษา ที่อยุ่ให้สะอาด เพื่อเป็นทางป้องกันโรคได้อย่างหนึ่ง เพราะเหตุนี้แหละประเทศ ที่อยู่จึงจัดเป็นสมุฎฐานที่ตั้งที่เกิดของโรคด้วย


ประเทศสมุฎฐานจัดเป็น 4 ประการ เพื่อให้เป็นที่สังเกตุว่าที่อยู่กับธาตุในร่างกาย ย่อมเป็นสิ่งซึ่งแอบอิงอาศัยแก่กัน คนที่เกิดในประเทศหนึ่ง ๆ มีสมุฎฐานโรคต่างกันอย่างไร ให้กำหนดไว้ดังนี้

                  1. คนเกิดในประเทศที่สูง เช่นชาวเขา                 เรียกประเทศร้อน ที่ตั้งแห่งโรคของคนประเทศนั้น 
                                  เป็นสมุฎฐานเตโช
      2. คนเกิดในประเทศที่เป็นน้ำกรวดทราย   เรียกประเทศอุ่น ที่ตั้งแห่งโรคของคนประเทศนั้น
                                                            เป็นสมุฎฐานอาโป ดีโลหิต
           3. คนเกิดในประเทศที่เป็นน้ำฝนเปืยกตม   เรียกประเทศเย็น ที่ตั้งแห่งโรคของคนประเทศนั้น 
                                          เป็นสมุฎฐานวาโย
                 4. คนเกิดในประเทศที่เป็นน้ำเค็มเปือกตม   เรียกประเทศหนาว ที่ตั้งแห่งโรคของคนประเทศนั้น  
                                                      เป็นสมุฎฐานปถวี


สมุฎฐานตามลักษณะอาการของโรค
         สมุฎฐานต่างๆยังมีการจำแนกตามลักษณะอาการของโรค ซึ่งบังเกิด ณ.ที่ทั่วไป ตามอวัยวะร่างกาย ที่ได้เป็นส่วนๆ ในอาการ 32 มี เกศา โลมา เป็นต้น นั้น เมื่อโรคบังเกิดขึ้นแก่ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ท่านเรียกว่าส่วนนั้นพิการ ดังนี้เรียกว่า บอกสมุฎฐาน คือชี้ที่เกิดของโรค ฝ่ายธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ซึ่งมีหน้าที่ต้องทำธุระให้แก่ร่างกาย ที่ท่านได้จำแนกไว้เป็นส่วนๆ นั้น เมื่อส่วนใดวิปริตผิดไปจากปกติ มีโรคภัย บังเกิดขึ้น ท่านก็เรียกว่าส่วนนั้นพิการ บอกสมุฎฐานด้วยเหมือนกัน แต่การตรวจสมุฎฐาน เพื่อให้รู้ว่าไข้ที่ป่วยรายนี้ มีอะไรเป็นสมุฎฐาน ที่เกิด โรคนั้นๆ ท่านวางหลักไว้เป็นแบบสำหรับสอบสวนกัน หลายทาง ธาตุทั้ง 4 ก็บอกสมุฎฐานได้อย่างหนึ่ง ตามหลักธาตุสมุฎฐาน ฤดู ดิน ฟ้า อากาศ บอกสมุฎฐาน ได้อย่างหนึ่ง ตามหลักอุตุสมุฎฐานอายุของคนไข้บอก
สมุฎฐาน เวลาที่คนไข้ป่วยและมีอาการปรวนแปร ไปต่างๆ บอก สมุฎฐาน ได้ อย่างหนึ่ง ตามหลักาลสมุฎฐาน ประเทศที่คนไข้เกิดและป่วยบอกสมุฎฐานได้ อย่างหนึ่ง ตามหลักประเทศสมุฎฐาน ดังได้กล่าว มาในข้างต้นแล้วนั้น การที่แทย์จะวางยก็ต้องวางให้ถูกต้องตามสมุฎฐานนั้นๆ แต่การที่แพทย์ตรวจเห็นคนเจ็บมีอาการเช่นนั้นๆ แล้วก็เข้าใจว่า เป็นโรคนั้นๆ เช่นเป็นหวัด เป็นกระษัย เป็นไข้ และวางอย่างนี้อย่างนั้นไปตามชื่อของโรค เช่นนี้ดูก็ยังไม่ตรงตามลักษณะสมุฎฐาน เพราะชื่อโรคนั้นๆ เป็นชื่อที่แพทย์สมมุติเรียกกันขึ้น และเรียกกันตามที่เคยพบเห็น ต่อๆมา แต่บางโรคบางอย่างที่นานๆพบ หรือโรค 2 อย่างที่มีอาการ คล้ายคลึงกัน แพทย์หลายคนเรียกชื่อไม่ตรงก็มี เหตุฉะนั้น ในการรักษาให้ถูกต้องแม่นยำแล้ว ต้องตรวจตราพิจารณา ตามสมุฎฐานนั่นแหละ และแม่นมั่นกว่า อนึ่งในคมภีร์ธาตุวิภังค์ ท่านก็ไม่ใช่ชื่อตามสมมุติ ท่านเรียกตามสมุฎฐานมาเป็นแบบอย่าง คือ เมื่อเห็นอาการว่าเป็นโรคที่ตับ ก็เรียกตับพิการ ที่ปอด ก็เรียกว่า ปอดพิการ หรือเป็นโรคเพื่อเสมหะ ก็เรียกว่า เสมหะพิการ ให้แพทย์ผู้ศึกษา ให้รู้อาการไข้ให้ตรงฉะนี้
              ลักษณะอาการของโรค บอกสมุฎฐานตามหลักที่ท่านได้บัญญัติไว้ สำหรับเป็นเครื่องวินิจฉัยของแทย์ในการตรวจไข้ อนึ่งขอชี้แจงไว้ว่า บรรดาโรคทที่มีประจำตัวมนุษย์อยู่บ่อยๆ นั้น โดยมากย่อมมีอยู่ใน 3 พวก คือ โรคเกิดเพื่อดี เพื่อเสมหะ และเพื่อลม ที่ได้กล่าวมาแล้วในสมฎฐาน ธาตุ 3 นั้น เป็นมากว่าอย่างอื่น หรือเรียกว่า ธาตุสมุฎฐานพิการ จำแนกออกเป็น สมูฎฐานปภวีธาตุพิการ สมูฎฐานอาโปธาตุพิการ สมูฎฐานวาโยธาตุพิการ และสมูฎฐานเตโชธาตุพิการ


1. สมุฎฐานปถวีธาตุพิการ
1.1 เกศาพิการ(ผม)  ให้มีอาการเจ็บตามหนังหัวและผมร่วง
1.2 โลมาพิการ( ขน) ให้มีอาการเจ็บตามผิวหนังและขนร่วง
1.3 นขาพิการ(เล็บ) ให้มีอาการปวดที่โคนเล็บ บางทีทำให้เล็บถอด บางทีเป็นเม็ด เป็นหนองที่โคนเล็บ
1.4 ทันตาพิการ(ฟัน) เป็นรำมะนาด เป็นฝีรำมะนาด ฝีกราม ให้ปวดตามรากฟัน แมงกินฟัน
1.5 ตะโจพิการ(หนัง) ให้คันตามผิวหนัง ให้รู้สึกกายสากตามผิวหนัง ให้แสบร้อนตามผิวหนัง
1.6 มังสังพิการ( เนื้อ) ให้เนื้อเป็นผื่นแดงช้ำและแสบร้อน เนื้อเป็นแฝดเป็นไฝ เป็นหูด เป็นพรายย้ำ
1.7 นะหารูพิการ(เส้นเอ็น) ให้รู้สึกตรึงรัดผูกดวงใจ ให้สวิงสวาย และอ่อนหิว
1.8 อัฎฐิพิการ(กระดูก) ให้เจ็บปวดในแท่งกระดูก
1.9 อัฎฐิมิญชังพิการ(เยื่อพรุนในกระดูก) ให้ข้นให้เป็นไข แล้วมีอาการเป็นเหน็บชา
1.10 วักกังพิการ(ม้าม) ให้สะท้านร้อนสะท้านหนาว และเป็นโรค เช่นกระษัยลม
1.11 หทะยังพิการ(หัวใจ) ให้เสียอารมณ์ ให้ใจน้อย มักขี้โกรธ ให้หิวโหย
1.12 ยกะนังพิการ(ตับ) ให้ตับโต ตับย้อย เป็นฝีที่ตับ ตับช้ำ
1.13 กิโลมะกังพิการ (พังผืด) ให้อกแห้ง ให้กระหายน้ำ และเป็นโรค เช่น ริดสีดวงแห้ง
1.14 ปิหะกังพิการ (ไต) ให้ขัดในอก ให้แน่นในอก ให้ท้องพอง ให้อ่อนเพลีย กำลังน้อย เจ็บ
                                                  สะเอว ปัสสาวะเหลือง
1.15 ปัปผาสังพิการ(ปอด) ให้กระหายน้ำ ให้ร้อนในอก ให้หอบหนัก เรียกว่า กาฬขึ้นที่ปอด
1.16 อันตังพิการ(ลำไส้ใหญ่) ให้ลงท้องเป็นกำลัง ให้แน่นในท้อง ให้ลำไส้ตีบ
1.17 อันตะคุนังพิการ(ไส้น้อย) ให้เรอ ให้หาว ให้อุจจาระเป็นโลหิต ให้หน้ามืดตามัว ให้เมื่อยบั่นเอว
1.18 อุทริยังพิการ(อาหารใหม่) ให้ลงท้อง ให้จุกเสียด ให้พะอืดพะอม ให้สะอึก
1.19 กะรีสังพิการ(อาหารเก่า) ให้อุจจาระไม่ปกติ ธาตุเสียมักจะเนื่องมาแต่ตานขโมย และ
                                                             เป็นโรค เช่นริดสีดวง


1.20 มัตถะเก มัตถลุงคังพิการ(สมอง) ให้หูตึง ให้มัวตา ให้ลิ้นกระด้าง ให้คางแข็ง






2. สมุฎฐานอาโปธาตุพิการ
2.1 พัทธะปิตตะพิการ(น้ำดีในฝัก) ให้มีอาการคลุ้มคลั่งเป็นบ้า ไข้สูง
2.2 อพัทธะปิตตะพิการ ทำให้ปวดศรีษะ ตัวร้อน สะท้านร้อนสะท้านหนาว ตาเหลือง 
          ปัสสาวะเหลือง จับไข้
2.3 ศอเสมหะพิการ ให้ไอเจ็บคอ คอแห้ง เป็นหืด
2.4 อุระเสมหะพิการ ให้ผอมเหลือง เป็นดาน เป็นเถาให้แสบในคอ อกแห้ง
2.5 คูถเสมหะพิการ ให้ตกอุจจาระเป็นเสมหะ และโลหิต เช่นมูกเลือด
2.6 ปุพโพพิการ ทำให้ไอเบื่ออาหาร ให้รูปร่างซูบผอม
2.7 โลหิตพิการ ให้ตัวร้อนเป็นไข้ ให้คลั่งเพ้อ ให้ปัสสาวะแดง ให้เป็นเม็ด ตามผิวหนัง เช่นเป็น
                                  ประดงต่างๆ เป็นปานดำ ปานแดง และกาฬโรค เป็นต้น
2.8 เสโทพิการ (เหงื่อ) ให้สวิงสวาย ให้ตัวเย็น ให้อ่อนอกอ่อนใจ
2.9 เมโทพิการ( มันข้น) ให้ผุดเป็นแผ่นตามผิวหนัง และเป็นวงเป็นดวง ให้ปวดแสบปวดร้อน
                                 ผิวหนัง เป็นน้ำเหลืองไหล
2.10 อัสสุพิการ(น้ำตา) ให้ตาเป็นฝ้า น้ำตาไหล ตาแฉะ ตาเป็นต้อ
2.11 วสาพิการ(มันเหลว) ให้ผิวเหลือง ให้ตาเหลือง ให้ลงท้อง
2.12 เขโฬพิการ(น้ำลาย) ให้เจ็บคอเป็นเม็ดในคอและโคนลิ้น
2.13 สิงฆานิการ(น้ำมูก) ให้ปวดในสมอง ให้ตามัว ให้น้ำมูกตก
2.14 ลสิกาพิการ(ไขข้อ) ให้เจ็บตามข้อ และแท่งกระดูกทั่วตัว
2.15 มุตตังพิการ(ปัสสาวะ) ให้ปัสสาวะสีขาว สีเหลือง สีดำ สีแดง

3. สมุฎฐานวาโยธาตุพิการ
3.1 อุทธังคมาวาตพิการ(ลมพัดขึ้น) ให้มือเท้าขวักไขว่ ร้อนในท้อง ทุรนทุราย หาวเรอเสมหะเฟ้อ
3.2 อโธคมาวาตพิการ(ลมพัดลง) ให้ยกมือและเท้าไม่ไหว ให้เมื่อยขบไปทุกข้อ
3.3 กุจฉิสยาวาตพิการ(ลมพัดในท้องนอกลำไส้) ให้ท้องลั่น ให้ดวงจิตสวิงสวาย ให้เมื่อยขบ
          ไปทุกข้อ
3.4 โกฎฐาสยาวาตพิการ(ลมพัดในลำไส้ กระเพาะ) ให้ขัดในอก ให้จุกเสียด ให้อาเจียน 
        ให้คลื่นเหียน ให้เหม็นข้าว
3.5 อังคมังคานุสารีวาตพิการ (ลมพัดทั่วร่างกาย) ให้นัยน์ตาพร่า ให้วิงเวียน ให้เจ็บสองหน้าขา 
           ให้เจ็บตามกระดูกสันหลัง อาเจียนแต่ลมเปล่า กินอาหารไม่ได้ สะบัดร้อนสะบัดหนาว
3.6 อัสสาสะ ปัสสาสะวาตพิการ(ลมหายใจเข้าออก) ให้หายใจสั้นเข้าจนไม่ออกไม่เข้า


4. สมุฎฐานเตโชธาตุพิการ
4.1 สันตัปปัคคีพิการ(ไฟอบอุ่น) ทำให้กายเย็นชืด
4.2 ปริณามัคคีพิการ(ไฟย่อยอาหาร) ให้ขัดข้อมือ ข้อเท้า เป็นมองคร่อ คือปอดเป็นหวัด ให้ไอ ให้ปวดฝ่ามือ ฝ่าเท้า ให้ท้องแข็ง ให้ผะอืดผะอม
4.3 ชิรณัคคีพิการ( ไฟทำให้แก่ชรา) ทำให้กายไม่รู้สึกสัมผัส ชิวหาไม่รู้รส หูตึง หน้าผากตึง อาการเหล่านี้เปลี่ยนไป เปลี่ยนมาได้
4.4 ปริทัยหัคคีพิการ( ไฟระส่ำระสาย) ทำให้ร้อนภายในภายนอก เย็นมือ เย็นเท้า เหงื่อออก


4. สมุฎฐานเตโชธาตุพิการ
4.1 สันตัปปัคคีพิการ(ไฟอบอุ่น) ทำให้กายเย็นชืด
4.2 ปริณามัคคีพิการ(ไฟย่อยอาหาร) ให้ขัดข้อมือ ข้อเท้า เป็นมองคร่อ คือปอดเป็นหวัด ให้ไอ ให้ปวดฝ่ามือ ฝ่าเท้า ให้ท้องแข็ง ให้ผะอืดผะอม
4.3 ชิรณัคคีพิการ( ไฟทำให้แก่ชรา) ทำให้กายไม่รู้สึกสัมผัส ชิวหาไม่รู้รส หูตึง หน้าผากตึง อาการเหล่านี้เปลี่ยนไป เปลี่ยนมาได้
4.4 ปริทัยหัคคีพิการ( ไฟระส่ำระสาย) ทำให้ร้อนภายในภายนอก เย็นมือ เย็นเท้า เหงื่อออก







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น