วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556


"การเก็บยาสมุนไพร หรือตัวยา" ตามวิธีแบบโบราณเพื่อให้ได้สรรพคุณดี คือ


*การเก็บยาตามฤดู 

๑. คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) เก็บ เหง้า, หัว, ราก, แก่น 
๒. วสันตฤดู   (ฤดูฝน) เก็บ ใบ, ดอก, ลูก หรือ ฝัก
๓. เหมันตฤดู  (ฤดูหนาว) เก็บ เปลือกไม้, กระพี้, เนื้อไม้







การเก็บตัวยาตามทิศทั้ง ๔ ตามวิธีแบบโบราณเพื่อให้ได้สรรพคุณดี คือ

๑. วันอาทิตย์, วันอังคาร เก็บเอาทางทิศตะวันออก
๒. วันพุธ, วันศุกร์ เก็บเอาทางทิศใต้
๓. วันจันทร์, วันเสาร์ เก็บเอาทางทิศตะวันตก
๔. วันพฤหัสบดี เก็บเอาทางทิศเหนือ


*ในการเก็บยาตามทิศที่นี้ ให้ถือเอาที่อยู่หรือที่พักของหมอผู้จะไปเก็บตัวยานั้นเป็นศูนย์กลาง





รสยาแก้ตามกาล หรือตามยามนี้ จัดไว้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนไข้รับประทานยา ให้ทันหรือตรงกับสมุฏฐานของโรค ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาหรือกาลนั้นๆ ในคัมภีร์กล่าวไว้มีทั้งกาล ๓ และกาล ๔ จะได้ยกตัวอย่างให้ทราบทั้ง ๒ กาล คือ
*กาล ๓  คือ กลางวัน    แบ่งออกเป็น ๓ ยาม 
                    กลางคืน   แบ่งออกเป็น ๓ ยาม คือ

ยาม ๑ นับแต่ ๐๖.๐๐น. - ๑๐.๐๐น. และ ๑๘.๐๐ น. - ๒๒.๐๐ น.
         เกิดโรคเพื่อเสมหะ ใช้น้ำกระสายยารสเปรี้ยว

ยาม ๒ นับแต่ ๑๐.๐๐น. - ๑๔.๐๐น. และ ๒๒.๐๐ น. - ๐๒.๐๐ น.
         เกิดโรคเพื่อโลหิตและดี ใช้น้ำกระสายยารสขม

ยาม ๓ นับแต่ ๑๔.๐๐น. - ๑๘.๐๐น. และ ๐๒.๐๐ น. - ๐๖.๐๐ น.
         เกิดโรคเพื่อลม ใช้น้ำกระสายยารสร้อน

*กาล ๔  ท่านแบ่งไว้เป็นกลางวัน ๔ ตอน และกลางคืน ๔ ตอน ดังนี้

ยาม ๑  นับแต่ ๐๖.๐๐น. - ๐๙.๐๐น. และ ๑๘.๐๐ น. - ๒๑.๐๐ น.
          เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดเสมหะ ใช้ยารสเปรี้ยว

ยาม ๒ นับแต่ ๐๙.๐๐น. - ๑๒.๐๐น. และ ๒๑.๐๐ น. - ๐๐.๐๐ น.
         เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดโลหิต ใช้ยารสขม

ยาม ๓ นับแต่ ๑๒.๐๐น. - ๑๕.๐๐น. และ ๐๐.๐๐ น. - ๐๓.๐๐ น.
         เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดดี ใช้ยารสเปรี้ยว รสขม

ยาม ๔ นับแต่ ๑๕.๐๐น. - ๑๘.๐๐น. และ ๐๓.๐๐ น. - ๐๖.๐๐ น.
         เป็นสมุฏฐานวาโย พิกัดวาตะ(ลม) ใช้ยารสเผ็ดร้อน รสสุขุม






รสยาแก้ตามวัย(ตามอายุ) ในที่นี้แบ่งช่วงอายุออกเป็น ๓ วัย แต่ละวัยจะเกิดโรคต่างกัน และใช้รสยาแก้ต่างกัน คือ

๑.
ปฐมวัย (วัยเด็ก) แรกเกิดถึงอายุ ๑๖ ปี เป็นโรคเพื่อเสมหะ (สมุฏฐานอาโป) ควรใช้ยารสหวาน รสเปรี้ยว รสขม

๒.
มัชฌิมวัย (วัยกลาง หรือวัยหนุ่มสาว) อายุ ๑๖ ๓๒ ปี เป็นโรคเพื่อโลหิตและดี (สมุฏฐานอาโป) ควรใช้ยารสเปรี้ยวฝาด รสเปรี้ยวเค็ม รสขม

๓.
ปัจฉิมวัย (วัยผู้เฒ่าหรือวัยคนแก่) อายุ ๓๒ ๖๔ ปี หรือจนถึงอายุขัย เป็นโรคเพื่อลมกำเริบ (สมุฏฐานวาโย) ควรใช้ยารสขม รสร้อน รสเค็ม รสฝาด รสหอม






วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556


 ธาตุเจ้าเรือนคืออะไร

ตามทฤษฎีการแพทย์ไทย กล่าวว่า คนเราเกิดมาในร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งในแต่ละคนจะมีธาตุหลักเป็น ธาตุประจำตัว เรียกว่า“ธาตุเจ้าเรือน ” ซึ่งธาตุเจ้าเรือนนี้มี 2 ลักษณะ คือ ธาตุเจ้าเรือนเกิด ซึ่งจะเป็นไปตาม วันเดือนปีเกิด และธาตุเจ้าเรือนปัจจุบัน ที่พิจารณาจาก บุคลิกลักษณะ อุปนิสัยและภาวะด้านสุขภาพ กายและใจ ว่าสอดคล้องกับลักษณะของบุคคลธาตุเจ้าเรือนอะไร  ตามทฤษฎีโบราณจะใช้รสชาติของอาหารเป็นยารักษาโรคโดยรสชาติต่าง ๆ จะมีผลต่อร่างกาย จำเป็นกลอนง่าย ๆ ให้ขึ้นใจ
จากรสยา 9 รส ต่าง ๆ ตามนี้


ฝาดชอบทางสมาน 
หวานซึบซาบไปตามเนื้อ

เมาเบื่อแก้พิษต่าง ๆ 

ขมแก้ทางโลหิตและดี


สมันบำรุงหัวใจ 
เค็มซึมซาบตามผิวหนัง


เปรี้ยวแก้ทางเสมหะ 

เผ็ดร้อนแก้ทางลม


เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุลย์ บุคคลจะไม่ค่อยเจ็บป่วย หากขาดความสมดุลมักจะเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจาก จุดอ่อนด้านสุขภาพของแต่ละคนตามเรือนธาตุุที่ขาดความสมดุลย์  ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นสิ่งที่สามารถช่วยได้ระดับหนึ่งในเบื้องต้นคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารของแต่ละคนในชีวิประจำวัน โดยใขรสของอาหารคุณลักษณะที่เป็นยามาปรับ สมดุลของร่างกายเพื่อป้องกันความเจ็บป่วย จะได้รู้อย่างไรว่าเป็นคนธาตุอะไร มีจุดอ่อนด้านสุขภาพด้วยโรคอะไร และควรจะรับประทานอาหารอย่างไร ให้ตรงกับธาตุเจ้าเรือนของตนสามารถอ่านได้จากอาหาร สมุนไพรประจำธาตุด้งต่อไปนี้ 


คนเกิดเดือน 11,12,1  ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม

ธาตุเจ้าเรือนอยู่ใน “ธาตุดิน

ลักษณะรูปร่าง มีความหนักแน่นมั่นคง รูปร่างสูงใหญ่ กระดูกใหญ่ ข้อกระดูกแข็งแรง 

                     น้ำหนักตัวมาก ผิวค่อนข้างคล้ำ ผมและคิ้วดกดำ  หน้าผากกว้าง

                     เสียงดังฟังชัด ใบหน้ากลมรี บุคลิกโดดเด่นสง่างาม

                     หาก สุขภาพร่างกายและจิตใจอยู่ในภาวะสมดุลก็จะมีความสุขุมรอบคอบ 

                     มีเป้าหมายในชีวิต เฉลียวฉลาด ทะเยอทะยาน จิตใจหนักแน่น มีมนุษยสัมพันธ์

                     ดี กระตือรือร้น อดทนสูง เอื้อเฟื้อ มีเมตตา รักสงบ

                     แต่ถ้าเมื่อใดร่างกายเสียสมดุล เขาจะเกิดความขัดแย้งในตัวเอง ลังเล ใจน้อย 

                     ดื้อรั้น โกรธเกี้ยว อารมณ์แรง


อาหาร ที่ควรรับประทานเพื่อปรับสมดุลธาตุ ก็คืออาหารที่มี  รสฝาด หวาน มัน เค็ม



ตัวอย่างผลไม้    มังคุด ฝรั่งดิบ ฟักทอง ถั่วต่างๆ เงาะ หัวมันเทศ น้ำนม น้ำอ้อย น้ำมะพร้าว 

                        เกลือ ฯลฯ



ตัวอย่างผักพื้นบ้าน   ผักกระโดน กล้วยดิบ ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะยม สมอไทย กระถินไทย 

                              กระโดนบก กระโดนน้ำ ผักหวาน ขุ่นอ่อน สะตอ ผักโขม โสน ขจร ยอดฟักทอง            

                              ผักเซียงดา ลูกเหนียง  บวบเหลี่ยม บวบงู บวบหอม


ตัวอย่างเมนูอาหาร    ผักกูดผัดน้ำมันงา ดอกงิ้วทอดไข่ แกงป่า กล้วยดิบ คั่วขนุน  สะตอผัดกุ้ง

                               สมอไทย ผัดน้ำมันหอย


ตัวอย่างอาหารว่าง     เต้าส่วน วุ้นกะทิ กล้วยบวชชี แกงบวดฟักทอง ตะโก้เผือก


ตัวอย่างเครื่องดื่ม       น้ำอ้อย น้ำมะพร้าว น้ำตาลสด น้ำมะตูม นมถั่วเหลือง น้ำแคนตาลูป น้ำส้ม

                                น้ำฝรั่ง น้ำลูกเดือย น้ำข้าวโพด น้ำแห้ว น้ำฟักทอง

น้ำมันหอมระเหยที่ใช้    ไพล 
                               โรสวู๊ด
                               กำยาน



สิ่งที่น่าสังเกตคือ คนโบราณบอกว่า คนธาตุนี้จะสุขภาพดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับ “การขับถ่ายเป็น

ระบบ” ดังนั้น คุณต้องให้ ความสำคัญและใส่ใจด้านนี้มากเป็นพิเศษ




คนเกิดเดือน 2,3,4  มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม 


ธาตุเจ้าเรือนอยู่ใน “ธาตุไฟ”



ลักษณะรูปร่าง  เป็นคนมีไฟในตัว ใจร้อน รูปกายตามธาตุผิวพรรณไม่ค่อยดีนัก


                      ผมหงอกเร็ว  ผมมักบาง ศีรษะเถิก หน้าผากกว้าง ผมและขนค่อนข้างนิ่ม 

                      หิวบ่อย ทานเก่ง กระดูกข้อใหญ่  แต่หลวม ใบหน้าเหลี่ยม  มักขี้ร้อน  ทนร้อน

                      ไม่ค่อยได้ ผิวหนังย่น   มีกลิ่นปากกลิ่นตัวแรง ความต้องการทางเพศปาน

                      กลาง  มีพรพิเศษ ได้ธรรมะ

                       หาก คนธาตุเจ้าเรือนอยู่ในธาตุไฟมีความสมดุล จะเป็นคนมีเหตุผล 

                       คล่องแคล่ว ไม่เห็นแก่ตัว จิตใจมีเมตตา เป็นครูที่ดี โรแมนติก ชอบความ

                       สมบูรณ์แบบ ความสามารถรอบด้าน มีความกล้าหาญ ชอบการตัดสินใจ 

                       มั่นใจในตัวเองสูง อบอุ่น  แต่หากเมื่อใดธาตุเสียสมดุลแล้วละก็ จะกลายเป็น

                       คนอ่อนไหว ขาดความมั่นใจ เข้าใจยาก ความอดทนต่ำ เครียด หงุดหงิด 

                       วู่วาม ขี้รำคาญ


ควรรับประทานอาหารรส  ขม เย็น และจืด


ตัวอย่างผลไม้   แตงโม มันแกว พุทรา แอปเปิ้ล


ตัวอย่างผักพื้นบ้าน   ผักบุ้ง ตำลึง ผักกระเฉด ผักกระสัง สายบัว ผักกาดจีน ผักกาดนา

                               ผักกาดนกเขา มะระ ผักปรัง มะรุม มะเขือยาว ผักหนาม ยอดมันเทศ 

                               กระเจี๊ยบมอญ สะเดา ยอดฟักทอง หยวกกล้วย  หม่อน มะเขือยาว 

                               กุ้ยช่าย 


ตัวอย่างเมนูอาหาร ผัดผักบุ้ง  แกงจืดตำลึง ผัดสายบัวใส่พริก  แกงส้มมะรุม   แกงคูน         
                
                            แกงจืด มะระ แกงส้มหยวกกล้วย ใส่ปลาช่อน  ยำผักกะเฉด  ผักหนามผัด

                            นำมันหอย 


ตัวอย่างอาหารว่าง ซาหริ่ม ไอศกรีม น้ำแข็งใส ตัวอย่างเครื่องดื่ม น้ำแตงโมปั่น น้ำใบเตย 

                            น้ำเก็กฮวย



น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ คือ ยูคาลิปตัส    
                                             การบูร
                                             พิมเสน
                                             โรสแมรี่



ควรหลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดร้อน น้ำสมุนไพรที่ดีต่อการบำรุงธาตุคือ น้ำใบบัวบก และน้ำมะระขี้นก



คนเกิดเดือน 5,6,7  เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน



ธาตุเจ้าเรือนอยู่ใน “ธาตุลม”



ลักษณะรูปร่าง  ผิวหนังผิวหนังไม่ค่อยละเอียดนัก  รูปร่างโปร่ง ผอมบาง ไม่สูงไม่เตี้ย 

                     ได้สัดส่วน ดูอ่อนวัยเกินจริง ริมฝีปากอิ่ม ไม่หยุดนิ่ง ชอบความสะดวกสบาย 

                      ดวงตาพองโต สดใสแต่มีชีวิตชีวา ข้อกระดูก มักลั่นเมื่อ เคลื่อนไหว คน

                      ธาตุเจ้าเรือนนี้เป็นคนอ่อนไหว เปลี่ยนแปลงเสมอ เหมือนลมเพลมพัดนั่นเอง 
   

ลักษณะนิสัย    เป็นคนฉลาด ไหวพริบดี มีเสน่ห์งดงาม เกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ สุขุมเยือกเย็น

                     ตามวิกฤต มีเสน่ห์ทางเพศ เข้าใจง่าย เรียนรู้ได้เร็ว แต่ก็ลืมเร็ว ปรับตัวง่าย 
            
                      มีความคิดสร้างสรรค์   เป็นศิลปิน ขี้อิจฉา ขี้ขลาด รักง่ายหน่ายเร็ว ทนหนาว

                      ไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ  ช่างพูด  เสียงต่ำ ออกเสียงไม่ชัดเจน ความรู้สึก 

                      ทางเพศไม่ค่อยดี 

                      แต่หากเมื่อใดก็ตามธาตุขาดสมดุล  จะเป็นคนเอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ 
   
                      ไม่ค่อยตรงต่อเวลา ขี้หึง โมโหง่าย ไม่กล้าตัดสินใจ อารมณ์ไม่มั่นคง


อาหารตามธาตุเพื่อปรับสมดุลนั้น ได้แก่ อาหารรสเผ็ด และรสสุขุม ได้แก่ เตยหอม บัว ขิง 

                                                ข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย โหระพา กะเพรา

น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ ขมิ้น
                            ตะไคร้หอม
                            เปลือกส้ม
                            ใบมะกรูด
                            ใบโหระพา



โดย คนโบราณกล่าวไว้ว่า สุขภาพจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ โรคลมอาการเฉียบพลัน 

อารมณ์ที่ร้อนแรง ความวิตกกังวล อาการปวดหลัง การชัก การกระตุก


ควรรับประทานอาหารรส   เผ็ดร้อน



ตัวอย่างผลไม้ - ตัวอย่างผักพื้นบ้าน   ขิงข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย กระทือ 

                                                      ดอกกระเจียวขมิ้นชัน ผักคราด ช้าพลู ผักไผ่ พริก

                                                      ขี้หนูสด สะระแหน่ หูเสือ  ผักแขยง ผักชีลาว ผักชีล้อม 

                                                      ยี่หร่า สมอไทย กานพลู


ตัวอย่างเมนูอาหาร  แกงปลาดุกใส่กระทือ ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง แกงหอยขมใส่ใบช้าพลู สมอ

                            ไทยทุบ ๆ ผัดน้ำมันพืช สมอไทย จิ้มน้ำพริก 

ตัวอย่างอาหารว่าง  บัวลอยน้ำขิง เต้าฮวย เต้าทึง มันต้มขิง ถั่วเขียว ต้มขิง เมื่ยงคำ

ตัวอย่างเครื่องดื่ม    น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำข่า น้ำก้านพลู




คนเกิดเดือน 8,9,10 กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน



ธาตุเจ้าเรืออยู่ใน “ธาตุน้ำ”

ลักษณะรูปร่าง  รูปร่างสมบรูณ์ สมส่วน ผิวพรรณสดใส เต่งตึง ตาเข้มหวาน น้ำในตามาก 

                      ท่าทางเดินมั่นคง ผมดกดำงาม ทนหิว ทนร้อน ทนเย็นได้ดี เสียงแปร่ง เจ้าชู้ 
                   
                      นิดๆ ช่างเจรจา องอาจ ทรนงความรู้สึกทางเพศดี อากัปกิริยามักเฉื่อย ทำ

                      กิจกรรมเชื่องช้า  และค่อนข้างเกียจคร้าน   ลักษณะของธาตุนี้เป็นคนนิ่ง 
              
                      เยือกเย็น 

                      เมื่อ ธาตุเจ้าเรือนของเขาสมดุลก็จะมีความจำดี รสนิยมเลิศหรู 

                      เป็นนักวางแผนมือฉกาจ ใจกว้างมีเหตุผล และยุติธรรม มีหัวศิลปะ 

                      กระตือรือร้นเต็มเปี่ยม สู้ชีวิต

                      แต่หากเมื่อไหร่ธาตุไม่สมดุลก็ตรงกันข้าม จะเป็นคนเฉื่อยชา เกียจคร้าน 

                      ตัดสินใจช้า ไม่ค่อยเด็ดขาด อารมณ์เสียง่าย ใจอ่อน


ควรรับประทานอาหาร  รสเปรี้ยวและขม เช่น มะกรูด มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ 

น้ำสมุนไพรที่ช่วยบำรุงธาตุ คือ น้ำมะนาว น้ำส้ม น้ำฝรั่ง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เช่น 

                                       ชะอม ฟักทอง ถั่ว กะทิ


คน โบราณบอกว่า  สุขภาพจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับ  การทำงานของต่อมต่างๆ ภายในร่างกาย 

การมีเสมหะมาก  การปวด ท้องเกี่ยวกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร  การขับถ่ายปัสสาวะ 

น้ำในมดลูก

  
ตัวอย่างผลไม้   มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขื่อเทศ มะยม มะกอก มะดัน กระท้อน



ตัวอย่างผักพื้นบ้าน   ขี้เหล็ก  แคบ้าน  ชะมวง ผักติ้ว ยอดมะกอก  ยอดมะขาม  มะอึก 

                               มะเขือเครือ สะเดาบ้าน มะระขี้นก มะระจีน มะแว้ง ใบยอ


ตัวอย่างเมนู  แกงขี้เหล็กปลาย่าง แกงส้มดอกแค แกงอ่อม มะระขี้นก ผัดมะระใส่ไข่ 

                   ห่อหมกใบยอ แกงป่าสะเดาใส่ปลาหมอ แกงป่า สะเดาปิ้ง  ต้มโคล้งยอดมะขาม                
           
                   ใบยอผัดน้ำมันหอยใส่หมูบด

ตัวอย่างอาหารว่าง  มะยมเชื่อม สับปะรดกวน กระท้อน ลอยแก้ว มะม่วงน้ำปลาหวาน

ตัวอย่างเครื่องดื่ม น้ำมะนาว น้ำใบบัวบก น้ำมะเขือเทศ น้ำมะขาม น้ำสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบ

น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ คือ  กระดังงา 
                                     มะลิ  
                                     ลาเวนเดอร์  
                                     เจอราเนียม


เกร็ดความรู้    ผู้ที่มาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุน้ำ ในช่วงอายุแรกเกิด – 16 ปี

                     มักจะมีอาการเป็นหวัด คัดจมูก ตาแฉะ   ในฤดูหนาว จะเจ็บป่วยง่าย

                     เพราะธาตุน้ำกำเริบ