วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556



"เภสัชวัตถุ" หมายถึงอะไร







สมุนไพร หมายถึงพืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" ในตำรับยานอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์แล ะแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า "เภสัชวัตถุ" พืชสมุนไพรบางชนิดเช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหาร เราจะเรียกว่า "เครื่องเทศ" ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ยาแผนโบราณ หมายถึงยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฎอยู่ในตำรายาแผน โบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
2. ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ
"รสประธาน" คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่รส








สรรพคุณเภสัช ผู้ปรุงยาต้องรู้จักสรรพคุณของยา ซึ่งสัมพันธ์กับรสของยาหรือสมุนไพรรสของยาเรียกว่า รสประธาน แบ่งออกเป็น
  1. ยารสเย็น ได้แก่ ยาที่ประกอบด้วยใบไม้ที่มีรสไม่เผ็ดร้อน เกสรดอกไม้ สัตตเขา (เขาสัตว์ 7 ชนิด) เนาวเขี้ยว (เขี้ยว 9 ชนิด) และของที่เผาเป็นถ่าน ตัวอย่างเช่น ยามหานิล ยามหากาฬ เป็นต้น ยากลุ่มนี้ใช้สำหรับรักษาโรคหรืออาการผิดปรกติทางเตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
  2. ยารสร้อน ได้แก่ ยาที่นำเอาเบญจกูล ตรีกฎุก หัสคุณ ขิง และข่ามาปรุง ตัวอย่างเช่น ยาแผนโบราณที่เรียกว่ายาเหลืองทั้งหลาย ยากลุ่มนี้ใช้สำหรับรักษาโรคและอาการผิดปรกติทางวาโยธาตุ (ธาตุลม)
  3. ยารสสุขุม ได้แก่ ยาที่ผสมด้วย โกฐ เทียน กฤษณา กระลำพัก ชะลูด อบเชย ขอนดอก และแก่นจันทร์เทศ เป็นต้น ตัวอย่างเช่นยาหอมทั้งหลาย ยากลุ่มนี้ใช้รักษาความผิดปรกติทางโลหิต
นอกจากรสประธานยาดังที่กล่าวนี้เภสัชวัตถุยังมีรสต่าง ๆ อีก 9 รสคือ รสฝาด รสหวาน รสเบื่อเมา รสขม รสมัน รสหอมเย็น รสเค็ม รสเปรี้ย ว และรสเผ็ดร้อน ในตำรายาแผนโบราณบางตำราได้เพิ่มรสจืดอีกรสหนึ่งด้วยรสของเภสัชวัตถุนี้จึงไม่ควรใช้กับผู้ที่มีอาการท้องผูก

ตำรายาไทยส่วนใหญ่ อ้างถึงวิธีการปรุงยาไว้กี่วิธี








วิธีการปรุงยา
ตำรายาไทยส่วนใหญ่กล่าวถึงวิธีปรุงยาไว้ 24 วิธี แต่บางตำราเพิ่มวิธีที่ 25 คือ วิธี กวนยา ทำเป็นขี้ผึ้งปิดแผลไว้ด้วยในจำนวน วิธีปรุงยาเหล่านี้มีผู้อธิบายรายละเอียดวิธีปรุงที่ใช้บ่อยๆ ไว้ดังนี้คือ
ยาต้ม
การเตรียม ปริมาณที่ใช้โดยทั่วไป คือ 1 กำมือ เอาสมุนไพรมาขดมัดรวมกันเป็นท่อนกลมยาวขนาด 1 ฝ่ามือ กว้างขนาดใช้มือกำได้โดยรอบพอดี ถ้าสมุนไพรนั้นแข็ง นำมาขดมัดไม่ได้ให้หั่นเป็นท่อนยาว 5-6 นิ้วฟุต กว้าง 1/2 นิ้วฟุต แล้วเอามารวมกันให้ได้ขนาด 1 กำมือ
การต้ม เทน้ำลงไปพอให้น้ำท่วมยาเล็กน้อย (ประมาณ 3-4 แก้ว) ถ้าปริมาณยาที่ระบุไว้น้อยมาก เช่น ใช้เพียง 1 หยิบมือ ให้เทน้ำลงไป 1 แก้ว (ประมาร 250 มิลลิลิตร) ต้มให้เดือดนาน 10-30 นาที แล้วแต่ว่าต้องการให้น้ำยาเข้มข้นหรือเจือจาง ยาต้มนี้ต้องกินในขณะที่ยายังอุ่นๆ
ยาชง
การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งชง โดยหั่นต้นสมุนไพรสดให้เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ แล้วผึ่งแดดให้แห้ง ถ้าต้องการให้ไม่มีกลิ่น เหม็นเขียวให้เอาไปคั่วเสียก่อนจนมีกลิ่นหอม
การชง ใช้สมุนไพร 1 ส่วน เติมน้ำเดือดลงไป 10 ส่วน ปิดฝาตั้งทิ้งไว้ 15-20 นาที
ยาดอง
การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งดอง โดยบดต้นไม้ยาให้แตกพอหยาบๆ ห่อด้วยผ้าขาวบาง หลวม ๆ เผื่อยาพองตัวเวลาอมน้ำ
การดอง เติมเหล้าโรงให้ท่วมห่อยา ตั้งทิ้งไว้ 7 วัน
ยาปั้นลูกกลอน
การเตรียม หั่นสมุนไพรสดให้เป็นแว่นบาง ๆ ผึ่งแดดให้แห้ง บดเป็นผงในขณะที่ยายังร้อนแดดอยู่ เพราะยาจะกรอบบดได้ง่าย
การปั้นยา ใช้ผงยาสมุนไพร 2 ส่วนผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม 1 ส่วน ตั้งทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ยาปั้นได้ง่ายไม่ติดมือ ปั้นยาเป็นลูกกลมๆ เล็กๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เสร็จแล้วผึ่งแดดจนแห้งจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ ให้นำมาผึ่งแดดซ้ำอีกทีเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราขึ้นยา
ยาตำคั้นเอาน้ำกิน
การเตรียม นำสมุนไพรสด ๆ มาตำให้ละเอียดหรือจนกระทั่งเหลว ถ้าตัวยาแห้งไปให้เติมน้ำลงไปจนเหลว
การคั้น คั้นเอาน้ำยาจากสมุนไพรที่ตำไว้นั้นมารับประทาน สมุนไพรที่ตำไว้นั้นมารับประทาน สมุนไพรบางอย่าง เช่น กระทือ กระชายให้นำไปเผาไฟให้สุกเสียก่อนจึงค่อยตำ
ยาพอก
การเตรียม ใช้สมุนไพรสดตำให้แหลกที่สุดให้พอเปียกแต่ไม่ถึงกับเหลว ถ้ายาแห้งให้เติมน้ำหรือเหล้าโรงลงไป
การพอก เมื่อพอกยาแล้วต้องคอยหยอดน้ำให้ยาเปียกชื้นอยู่เสมอ เปลี่ยนยาวันละ 3 ครั้ง

การปรุงยาไทยอาศัยเครื่องมืออะไรบ้าง














เครื่องมือที่ใช้ในการปรุงยา
ในการปรุงยาไทยจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ ดังนี้คือ
  1. เครื่องหั่นยา เป็นมีดที่ติดอยู่กับแท่นเพื่อสะดวกในการหั่นสมุนไพร
  2. บุ้งกรางยา ใช้สำหรับขูดสมุนไพรที่แข็ง เช่น แก่นไม้จันทร์ เพื่อให้สามารถนำไปบดให้ละเอียดได้ง่ายขึ้น
  3. เครื่องบดยา แต่เดิมใช้ครกตำสมุนไพรที่ได้จากการหั่นหรือการขูดด้วยบุ้ง ต่อมาได้พัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องบดยารางยาง ซึ่งประกอบด้วยรางเหล็กและลูกกลิ้งกลมขอบคม ลูกกลิ้งจะยึดติดกับคันโยก ผู้บดจะต้องโยกคัน ผู้บดจะต้องโยกคันเพื่อ ให้ลูกกลิ้งบดสมุนไพรจนเป็นผง ชาวจีนอาจใช้วิธีเหยียบคันโยกแต่แพทย์ไทยถือว่ายาเป็นของสูงจึงไม่ใช้เท้า ในปัจจุบันเครื่องบดยาได้พัฒนาขึ้นเป็นแบบ รากกลมและใช้ไฟฟ้า
  4. ตะแกรงร่อนยา เดิมแพทย์ไทยใช้ไม้ไผ่สาน แต่ต่อมาได้รับอิทธิพลจากชาวจีน จึงทำเป็นตะแกรงรูปกลมมีขอบสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ใช้ผ้าขึงที่ก้น ขอบทำด้วยไม้ไผ่
  5. หินบดยา แม้ว่าจะนำสมุนไพรไปบดด้วยเครื่องบดยาแล้วก็ตามสมุนไพรที่จะนำไปใช้ทำยาเม็ดอาจไม่ละเอียดพอ จึงจำเป็นต้องนำมาบดอีกครั้งด้วยหินบดยา ซึ่งประกอบด้วยแท่นหินและลูกบด ผู้บดจะจับลูกบดบดไปมาบนตัวยาที่วางอยู่บนแท่น นอกจากจะบอดให้ละเอียดมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการผสมให้ตัวยาหลายชนิดเข้ากันเป็นเนื้อเดียวอีกด้วย หินบดยามีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดพอรับประทานแต่ ละครั้ง จนถึงขนาดใหญ่บดผงจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วยังมีหินบดยาสำหรับการกวาดยา ซึ่งเป็นแท่นหิน มีลักษณะเป็นแอ่งตื้นและ มีปากเพื่อเทยา
  6. หินฝนยา เป็นแท่นหิน มีแอ่งอยู่ปลายด้านหนึ่งเพื่อรองรับตัวยาและน้ำยา ใช้สำหรับฝนยาหมู่ เช่น นวเขี้ยว หรือฝนตัวยาเพื่อทำน้ำกระสายยา
  7. โกร่งบดยา ใช้บดยาจำนวนน้อยเพื่อรับประทานแต่ละครั้ง
  8. ตะแกรงตากยา เป็นภาชนะทำด้วยไม้ไผ่สาน ต่อมาได้ปรับปรุงเป็นถาดโลหะเคลือบ หรืออะลูมิเนียม
  9. พิมพ์อัดเปียก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำยาเม็ด ทำด้วยทองเหลือง มีขนาดต่าง ๆ กัน ใช้สำหรับทำยาเม็ดที่ใช้น้ำในการผสม ถ้ ายาเม็ดผสมน้ำผึ้งอาจจะใช้รางยาซึ่งเป็นเครื่องมือทำยาจีนแทนการปั้นเป็นเม็ดด้วยมือ

วิธีเก็บเกี่ยวสมุนไพร ทำได้กี่วิธี









วิธีเก็บเกี่ยวสมุนไพร
การปรุงยาให้มีคุณภาพนั้น นอกจากจะต้องรู้หลักและวิธีการปรุงยาแล้ว จะต้องรู้วิธีเก็บเกี่ยวสมุนไพรอีกด้วย ตำราแพทย์ ไทยจึงได้กำหนดวิธีการเก็บไว้ 4 อย่างคือ เก็บตามฤดู เก็บตามทิศทั้งสี่ เก็บตามวันและเวลา และเก็บตามยามและได้อธิบายวิธีเก็ บไว้ดังนี้
  1. เก็บตามฤดู มีดังนี้
    1. คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) เก็บรากและแก่น
    2. สันตฤดู (ฤดูฝน) เก็บใบลูก และดอก
    3. เหมันตฤดู (ฤดูหนาว) เก็บเปลือกกระพี้ และเนื้อไม้
  2. เก็บตามทิศทั้งสี่ ได้แก่
    1. วันอาทิตย์ และวันอังคาร เก็บทางทิศตะวันออก
    2. วันพุธ และวันศุกร์ เก็บทางทิศใต้
    3. วันจันทร์ และวันเสาร์ เก็บทางทิศตะวันออก
    4. วันพฤหัสบดี เก็บทางทิศเหนือ
      การเก็บสมุนไพรตามทิศนี้ให้ถือตัวผู้เก็บเกี่ยวเป็นศูนย์กลาง
  3. เก็บตามวันและเวลา
    1. วันอาทิตย์ เช้าเก็บต้น สายเก็บใบ เที่ยงเก็บราก เย็นเก็บเปลือก
    2. วันจันทร์ เช้าเก็บใบ สายเก็บแก่น เที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บเปลือก
    3. วันอังคาร เช้าเก็บใบ สายเก็บเปลือก เที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บราก
    4. วันพุธ เช้าเก็บราก สายเก็บเปลือกเที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บแก่น
    5. วันพฤหัสบดี เช้าเก็บแก่น สายเก็บใบ เที่ยงเก็บราก เย็นเก็บเปลือก
    6. วันศุกร์ เช้าเก็บใบ สายเก็บราก เที่ยงเก็บเปลือก เย็นเก็บต้น
    7. วันเสาร์ เช้าเก็บราก สายเก็บต้นเที่ยงเก็บเปลือก เย็นเก็บใบ
  4. เก็บตามยาม (ยามเป็นชื่อส่วนของวันยามหนึ่งมี 3 ชั่วโมง ยาม 1 เริ่มตั้งแร่ 06.00 น.)
    1. กลางวัน
      ยาม 1 เก็บใบ ดอก และลูก
      ยาม 2 เก็บกิ่ง และก้าน
      ยาม 3 เก็บต้น เปลือก และแก่น
      ยาม 4 เก็บราก
    2. กลางคืน
      ยาม 1 เก็บราก
      ยาม 2 เก็บต้น เปลือก และแก่น
      ยาม 3 เก็บ กิ่ง และก้าน
      ยาม 4 เก็บใบ ดอก และลูก

มีหลักในการเก็บสมุนไพรอะไรบ้าง เพื่อให้ได้สารสำคัญสุด







ประโยชน์ของการเก็บเกี่ยวตามที่ตำราแพทย์ไทยได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ก็เพื่อ
1. สงวนพันธุ์ของสมุนไพรไว้มิให้สูญไปโดยไม่เก็บจากบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ
2. ให้ได้ตัวยาที่มีสรรพคุณดี เพราะสรรพคุณของตัวยาขึ้นกับดินฟ้าอากาศ
3. ให้ได้ตัวยาถูกต้องตามที่ตำราได้กำหนดไว้
จากการวิจัยในปัจจุบันพบว่าปริมาณของสารสำคัญในการออกฤทธิ์รักษาอาการเจ็บป่วยที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของสมุนไพรมีมากน้ อยแตกต่างกันตามระยะของการเจริญเติบโตของพืชการเก็บสมุนไพรให้ได้สารสำคัญสูง จึงมีหลักการดังต่อไปนี้
ส่วนของรากและลำต้นใต้ดิน ให้เก็บหลังจากต้นเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนจะออกดอก
ส่วนของเปลือกต้น ให้เก็บก่อนที่พืชจะเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนที่จะออกดอก
ใบและยอด ให้เก็บตอนที่เริ่มออกดอก
ดอก ให้เก็บก่อนที่จะมีการผสมเกสร
ผล ให้เก็บก่อนหรือหลังผลสุก
เมล็ด ให้เก็บเมื่อเมล็ดแก่เต็มที่
สมุนไพรบางชนิดจำเป็นต้องผึ่งให้แห้งก่อนจะเก็บไว้ โดยทั่วไปจะใช้วิธีผึ่งแดด หรือผึ่งให้แห้งในร่ม ถ้าจะอบไม่ควรใช้ความร้อนเกิน 45 องศาเซลเซียส เพราะอาจทำให้สารสำคัญเสียไป การเก็บควรเก็บในที่แห้งและไม่ให้ถูกแสง เนื่องจากสารสำคัญอาจถูกทำลายได้ด้วยความช ื้นหรือแสงในสมัยโบราณมักเก็บไว้ในลิ้นชัก หรือกระป๋องทึบซึ่งป้องกันความชื้นและแสงได้

ข้อควรระวังในการใช้ยาสมุนไพร







ข้อควรระวังในการใช้ยาสมุนไพร
1. ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรนานเกินความจำเป็น ถ้าใช้ยาสมุนไพรแล้ว3-5 วันอาการยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้อาจเนื่องจาก ใช้ยาไม่ถูกกับโรค
2. เมื่อใช้ยาสมุนไพรควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ถ้ามีอาการผิดปรกติควรรีบปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน
3. ควรใช้ยาตามหลักการรักษาของแพทย์แผนโบราณอย่างเคร่งครัด เพราะการดัดแปลงเพื่อความสะดวกของผู้ใช้อาจทำให้เกิดอันตรายได้
4. อย่าใช้ยาเข้มข้นเกินไป เช่น ยาที่บอกว่าให้ต้มกิน อย่านำไปเคี่ยวจนแห้งเพราะจะทำให้ยาเข้มข้นเกินไปจนทำให้ เกิดพิษได้
5. ขนาดที่ระบุไว้ในตำรับยามักเป็นขนาดของผู้ใหญ่ ในเด็กจะต้องลดขนาดลง
6. ควรระวังความสะอาดของสมุนไพร สมุนไพรที่ซื้อมาจากร้านบางครั้งอาจเก่ามากถ้าสังเกตเห็นราหรือแมลงชอนไช ไม่ควรใช้ ทั้ งนี้เนื่องจากสารสำคัญอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ทำให้ใช้ไม่ได้ผล และยังอาจได้รับพิษจากแมลงหรือเชื้อรานั้นอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น